“Marketing Funnel” ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งช่วยให้แบรนด์สามารถวางแผนการสร้าง Customer Journey เพื่อเปลี่ยน “คนรู้ไม่รู้จัก” ให้กลายมาเป็น “ลูกค้า” ที่สร้าง Conversion กลับมาที่แบรนด์ได้อย่างเป็นระบบแบบแผน
ความสำเร็จเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีการนำ “ข้อมูล” บนเส้นทางดิจิทัลของกลุ่มเป้าหมายมาศึกษาพฤติกรรมว่า พวกเขามีแนวโน้มจะตัดสินใจอย่างไรในแต่ละขั้นตอนของ Funnel และเราควรส่งแคมเปญแบบไหน เข้าไปในขั้นตอนใดที่จะสามารถกระตุ้นให้แต่ละคนตัดสินใจซื้อสินค้าได้
ยิ่งหากได้ “ข้อมูลเชิงลึก” ของผู้บริโภคแต่ละคนมากเท่าใด โอกาสที่จะปิดดีลการขายก็ยิ่งจะมีมากขึ้นเท่านั้น
แต่ปัจจุบันการได้มาซึ่ง “ข้อมูล” ผู้บริโภคที่แม้แต่จะเป็นข้อมูลพื้นฐานธรรมดาทั่วไป ก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เหมือนในอดีต เนื่องจากทุกวันนี้ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับ “ความเป็นส่วนตัว” (Privacy) ของบุคคล ทำให้การจะนำ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ไปใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง จำเป็นจะต้องได้รับ “ความยินยอม” (Consent) จากบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลเสียก่อน
โดยปัจจุบันมีกฎหมายบังคับใช้ในเรื่องนี้มากมาย เช่น ระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR) ของสหภาพยุโรป และ “พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล” (Personal Data Protection Act: PDPA) ของประเทศไทย ที่จะมีการบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในปีหน้า
กฎหมายเหล่านี้ได้ขีดเส้น “บรรทัดฐานใหม่” สำหรับการจัดเก็บและใช้ประโยชน์จาก “ข้อมูลส่วนบุคคล” จะต้องขออนุญาตและได้รับ “ความยินยอม” (Consent) จากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน
นั่นจึงส่งผลให้การได้รับ Consent หรือ ความยินยอมจากลูกค้า จะเป็นด่านสำคัญด่านแรก และยืนอยู่บนยอดสุดของการทำการตลาดในแต่ละขั้นตอนเสมอ
แต่ก่อนจะไปว่ากันต่อเกี่ยวกับความสำคัญของ Consent ในแต่ละขั้นตอน ขออนุญาตทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับ Marketing Funnel ในรูปแบบเดิมที่เราคุ้นชินกัน ซึ่งหากจะว่ากันเฉพาะในส่วนของ Digital Marketing จะแบ่ง Funnel เป็น 3 ระดับ ดังนี้
สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความกังวลในกลุ่มผู้บริโภคว่า การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นกำลัง “ล้ำเส้น” ความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ของแต่ละบุคคลหรือเปล่า และที่สำคัญ คือ การได้มาซึ่งข้อมูลในแต่ละขั้นตอนของแบรนด์มีความ “โปร่งใส” มาเพียงใด
ทั้งหมดทั้งปวงจึงชี้ไปที่คำว่า การให้ความยินยอม (Consent) ของลูกค้า จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในทุก ๆ ขั้นตอนการตลาดยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึง
สิ่งเหล่านี้อาจทำให้แบรนด์จำนวนไม่น้อยรู้สึกว่า กำลังต้องเผชิญกับความยุ่งยากเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจที่ต้องผนวกรวมกับการสร้างความโปร่งใสในการ “จัดเก็บ” และ “ใช้ประโยชน์” ข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ แต่หากมองในมุมกลับกัน นี่อาจถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์ที่จะสร้าง “ความไว้วางใจ” เพื่อมัดใจผู้บริโภค
ต้องไม่ลืมว่าทุกวันนี้ความรู้ทางดิจิทัลของผู้บริโภคเติบโตขึ้นตลอดเวลา
ดังนั้นหากแบรนด์สามารถสร้างความโปร่งใสในการรวบรวมข้อมูล มีการจัดการความเป็นส่วนตัวอย่างเหมาะสม รวมถึงการเก็บรักษาความลับและมีการปกป้องข้อมูลที่ดี สิ่งที่ตามมาก็จะเป็นการนำแบรนด์ไปสู่ยุคใหม่ของการตลาดดิจิทัล ภายใต้แนวคิด “Trust = Loyalty” ได้อย่างสมบูรณ์