ปัจจุบันเว็บไซต์ต่างๆ มักจะมีการติดตั้ง Tag เพื่อจัดเก็บข้อมูลและนำเสนอแคมเปญทางการตลาด ซึ่ง Tag ที่ถูกติดตั้งมีจำนวนมาก และแต่ละหน้าก็มีเงื่อนไขในการติดตั้งต่างกัน
ในหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ปราศจากการควบคุมการ Tag อาจจะพบปัญหามีการใส่ Tag ซ้ำซ้อน หรือพบ Tag ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบเพราะขาดการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ในขณะที่การมีหลักในการกำกับดูแลการติด Tag ที่ดี หรือ “Governance” จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้
“Tag manager” เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมการติดตั้ง Tag บนเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น Adobe Launch (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Adobe Launch) แต่หากการจัดการสิทธิ์ให้กับผู้ใช้งาน Tag manager ไม่ดี ก็อาจจะทำให้ผู้ใช้งานสร้างกฎต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหากับเว็บไซต์ได้
ข้อดีอย่างหนึ่งของ Tag manager คือ สามารถควบคุมการ Deploy บน Stage ต่าง ๆ ของการพัฒนาเว็บไซต์ และสามารถให้สิทธิ์กับบุคคลที่ต่างกันในการดูแลแต่ละขั้นตอน หากพบปัญหาในช่วงก่อนจะนำเว็บไซต์ขึ้น ขั้นตอน Production ผู้ที่ตรวจสอบก็สามารถ Reject rule เพื่อนำไปแก้ไขอีกครั้งได้
หลังจากติด Tag เพื่อเก็บข้อมูล ซึ่งอาจจะติดผ่าน Tag manager แล้ว สิ่งที่ต้องทำคือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ส่งไปยัง “Analytics server”
นอกจากจะตรวจเรื่องค่าที่ส่งไปตรงตามแผนที่วางไว้แล้ว การป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าถูกเก็บก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการตรวจสอบดังกล่าวสามารถทำแบบ Manual หรือใช้เครื่องมือที่เป็น Web crawler เพื่อสแกนเว็บไซต์อัตโนมัติ ซึ่งการใช้เครื่องมือจะช่วยให้การตรวจสอบมีความแม่นยำและรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในอุปสรรคของ Tag Governance คือ การบังคับใช้ให้ครอบคลุมในหน่วยงาน โดยเฉพาะกรณีที่ส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ถูกพัฒนาจากเวนเดอร์ที่ต่างกัน
การวางแผนที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำ “Tag Governance” ผู้ที่รับผิดชอบจะต้องรวบรวมความต้องการจากฝ่ายต่างๆ ให้ครบถ้วน เพื่อนำไปกำหนด Rule ที่สอดคล้องต่อเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลให้การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และแน่นอน ย่อมนำมาซึ่งการนำเสนอแคมเปญทางการตลาดที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเช่นกัน!