parallax background

Google’s Helpful Content สิ่งที่คนทำ SEO Marketing ต้องรู้และพลาดไม่ได้

เดือนสิงหาคม 2022 Google ได้ออกอัปเดตฟีเจอร์ Google’s Helpful Content เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ Google search engine ให้มีการแสดงผลต่อผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหลายคนอาจจะมองมันเป็นแค่การอัปเดตเล็ก ๆ แต่เป็นสิ่งที่คนทำ SEO Marketing (Search Engine Optimization Marketing) หรือ Content Marketing อาจต้องนึงถึงเพราะอัพเดตดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการจัดอันดับ (Search result ranking) ของ Google นั่นเอง

“we’re launching what we’re calling the “helpful content update” that’s part of a broader effort to ensure people see more original,

 helpful content written by people, for people, in search results” – Google

 

 

Google’s Helpful Content คืออะไร???

Google’s Helpful Content คือ Feature ใน Google search engine โดยมี Machine Learning (ML) ที่รันอัตโนมัติตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้งานเห็น Content ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ตรงประเด็นกับสิ่งที่ผู้อ่านต้องการ และเขียนโดยคนมากขึ้น ไม่ใช่จาก AI-Generated หรือทำมาเพื่อการจัดอันดับของ Search result แต่เพียงอย่างเดียว โดยอัปเดตเป็น Site-wide หรือทั้งหมด บน Google search แต่เบื้องต้นจะเริ่มในภาษาอังกฤษก่อน จากนั้นจึงจะขยายไปภาษาอื่นๆ ต่อไป

Google บอกว่า Content ที่จะสามารถ Perform บน Search result ได้ดีคือ People-First Content ซึ่งก็คือ Content ที่เน้นไปที่เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่า และมีคุณภาพต่อผู้อ่าน ไม่ใช่เพื่อการทำ SEO ได้ดีอย่างเดียว โดย Google ได้ออก  Document Guideline เพื่อเป็นแนวทางให้เหล่า Creator หรือนักเขียนเจ้าของบทความสามารถสร้าง Content ได้ง่ายขึ้นและสอดคล้องกับ Helpful Content

ตัวอย่างของ Google Guideline เพื่อดูว่า Content ของเราเป็น People-First Content  ที่มีประโยชน์ต่อ ผู้อ่านหรือไม่;

  1. After reading your content, will someone leave feeling they’ve learned enough about a topic to help achieve their goal? หลังจากที่อ่าน Content แล้ว ผู้อ่านได้คุณค่าหรือคำตอบจาก Content หรือไม่?
  2. Does your content clearly demonstrate first-hand expertise and a depth of knowledge (for example, expertise that comes from having actually used a product or service, or visiting a place) Content ของเรานั้น สามารถแสดง ประสบการณ์ จากผู้ใช้งานจริง หรือ ความรู้ชำนาญ ใน ด้านนั้นๆ?
  3. Does your site have a primary purpose or focus? Website ของเรา มีวัตถุประสงค์ หรือ objective ที่ชัดเจนหรือไม่?

 

แนวทางดังกล่าว ถือว่าสวนทางกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่เป็นการเขียนในลักษณะ Search Engines-First Content หรือเพื่อหวังผลให้ Search Engine หาเจอ หรือเน้นเพียงแค่ให้ Website ขึ้นอันดับแรกของ Search result เพื่อทำให้คนเห็น web ของตัวเองให้เยอะที่สุด โดยไม่ได้ดูเรื่อง Objective หรือ “ประโยชน์” ที่คนอ่านจะได้จาก Content ดังนั้น Content ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จึงเน้นไปที่การใส่ Keywords เยอะๆ หรือใส่คำที่เกี่ยวข้องกับ Topics ต่างๆ ลงในหัวข้อ (Headings) และใน Content แต่พอผู้อ่านคลิกเข้าไปดูเนื้อหาจริงๆ กลับไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อะไรกลับมา และหลายครั้งก็พบว่า ตัวเนื้อหาอาจจะไม่ได้พูดเรื่องเดียวกันกับ Topic เลยก็ได้

ตัวอย่างคำถาม ของ Google guideline เพื่อดูว่า content ของ เรานั้นเป็น SEO- first content หรือไม่;

  1. Are you using extensive automation to produce content on many topics? มีการใช้ Automation เพื่อสร้างหรือเขียน Content ในหลายๆ Topic บน Website ?
  2. Is the content primarily to attract people from search engines, rather than made for humans? Content ของเรานั้น เน้นไปที่ การ ทำ SEO เพื่อ ดึงดูด ผู้อ่าน มากกว่าการเขียนขึ้นมา สำหรับ ผู้อ่าน ?
  3. Are you mainly summarizing what others have to say without adding much value? Content ของเรา นั้นมาจาก การ สรุปหรือ paraphrase บทความอื่นๆ ไม่ได้เพิ่ม ข้อมูล หรือ คุณค่าอะไรเพิ่ม?

 

ถ้าเรามีแต่ SEO-First Content จะเป็นยังไง

Web หรือ Content ที่ถูกนับเป็น SEO-First content จะ ถูกจัดอันดับการแสดงผล Search Result ต่ำลง เพราะ Google จะให้ความสำคัญกับฝั่ง People-First Content หรือให้ความสำคัญกับเนื้อหามากขึ้น ซึ่งเหตุผลนี้อาจนำไปสู่การที่ Web หรือ Brands ต่างๆ ยังคงใช้วิธีผลิต Content แบบเดิม อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายกับค่า Ads มากขึ้นเพื่อที่จะให้ได้ผลลัพธ์เท่าเดิม เช่น ในเรื่องของ Conversion อย่าง CTR (Click Through Rate) ผ่าน Search result เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม Helpful Content เป็นเพียงแค่ 1 ใน ตัวแปร ของ การจัดอันดับ Search result เท่านั้นอยังมีตัวแปรอื่น ๆ ที่ Google นำมาวิเคราะห์ในการจัด Ranking เช่น Meaning (ความหมายของคำถาม หรือ Keywords ที่ผู้ใช้พิมพ์ลงไปในช่อง search), Relevance (ความเกี่ยวข้องของเนื้อหา), หรือ Context (ภูมิภาค, โลเคชั่น, ภาษา) เป็นต้น

 

แล้วควรทำยังไงต่อดี???

ถ้าไม่อยากให้ Web ของเรามี Search result rank ต่ำลง มีวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ นั้นคือ ปรับปรุงเนื้อหาของเราให้เป็น People-First Content โดยการเน้นไปที่เนื้อหามากกว่าการที่จะใส่ Keywords เยอะๆ ลงไป เพื่อที่จะให้ Algorithm มันแสดงผล เป็นอันดับต้นๆ โดยหลังการทำ People-First Content แล้ว ระบบ Algorithm ที่ใช้ในการแยกประเภท Content นั้น ก็จะทำหน้าที่ของมันเองโดยอัตโนมัติ ส่วน Content เก่า ๆ ที่เราโพสไปแล้ว เราอาจจะไป Edit หรือว่า ลบออกไปจาก Web เราก็ได้ เพื่อที่จะให้ภาพรวมของ web ยังคงมี Content ที่มีคุณภาพมากขึ้นนั่งเอง