parallax background

ระบบ Automation คืออะไร และจะช่วย Marketing Campaign ของเราได้อย่างไร

Marketing Automation คืออะไร?

ทุกวันนี้เราน่าจะคุ้นหูกันดีกับคำว่า “ระบบอัตโนมัติ” (Automation) ที่ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการตลาดต่าง ๆ นำมาเป็นจุดขาย และยังเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างกว้างขวางในวงสนทนาเกี่ยวกับ Digital Marketing ทั่วโลก แต่เชื่อว่าปัจจุบันยังมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบ Marketing Automation ดังกล่าวอย่างแท้จริง

ถ้าลองค้นดูใน Google ว่า “Marketing Automation คืออะไร?” เราจะพบคำนิยามที่ยกมาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ มากมาย เช่น​ Wikipedia ที่แสดงผลให้เราเห็นเป็นอันดับต้น ๆ ได้ให้คำนิยามไว้ดังนี้

“Marketing Automation หมายถึง แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีที่ออกแบบมาสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น อีเมล โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ ฯลฯ โดยมีความสามารถในการทำงานซ้ำได้แบบอัตโนมัติ”

คำนิยามดังกล่าวข้างต้นถูกแล้วหรือไม่?

คำตอบ คือ “ถูก” แต่ไม่ทั้งหมด และอาจเป็นคำตอบที่หลายคนเห็นว่ายังไม่ Make Sense ดังนั้นจึงอยากขออนุญาตใช้โอกาสนี้สรุปความหมายของ Marketing Automation ให้ทุกท่านเข้าใจได้แบบง่าย ๆ ดังนี้

คำว่า Automation หมายถึงระบบอัตโนมัติที่ไม่จำเป็นต้องตอบโต้หรือสั่งงานจากมนุษย์ในทุกครั้งที่มีการทำงาน ทำให้เราไม่ต้องมานั่งกังวลเกี่ยวกับการทำงานซ้ำ ๆ ในกระบวนการที่มีความเฉพาะเจาะจง หรือมีการกำหนดขั้นตอนและตัวแปรต่าง ๆ อย่างชัดเจน

แล้วระบบ Automation จะช่วย Marketing Campaign ของเราได้อย่างไร?

ก่อนที่จะเข้าไปพูดถึงรายละเอียดในส่วนนี้ อยากขอให้ทุกท่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐาน 2 ข้อของระบบ Automation ดังต่อไปนี้

ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องเป็นระบบอัตโนมัติ
เฉพาะงานที่จะต้องทำซ้ำ ๆ เท่านั้น จึงควรทำเป็นระบบอัตโนมัติ
ถ้าเขาใจใน 2 ข้อนี้แล้ว อันดับต่อไปคือการก้าวออกมาตรวจสอบความต้องการของเราในการนำระบบ Automation มาใช้กับแคมเปญ โดยสิ่งแรกสุดที่ต้องทำ คือ การวิเคราะห์ลักษณะการทำ Marketing Campaign ของเราเองในประเด็นต่อไปนี้

  • ความถี่ของภารกิจหรือแคมเปญถูกนำมาทำซ้ำบ่อยแค่ไหน?
  • ลักษณะการทำยังเหมือนเดิมใช่หรือไม่?
  • มีการใช้งบประมาณเท่ากันทุกครั้งใช่หรือไม่?
  • ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร?

ถ้าสามารถวิเคราะห์การทำแคมเปญของตัวเองได้แล้ว อันดับต่อไปขอให้นึกถึง “วิธีการ” ที่เราจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแคมเปญของเรา หรือการทำ Optimization นั่นเอง

การ Optimization เป็นการลบองค์ประกอบ ทรัพยากร หรือการทำงานที่ไม่จำเป็นในแคมเปญของเราออกไป เพราะบางครั้งในการสร้างกลยุทธ์ อาจมีกระบวนการหรือขั้นตอนบางอย่างก็ไม่ใช่สิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้ ดังนั้นการนำสิ่งไม่จำเป็นเหล่านี้ออกไป จึงเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วของแคมเปญและประหยัดค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น

หลังจาก Optimize แคมเปญแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การคิดเกี่ยวกับตรรกะการทำงานของระบบ Automation เพราะบางครั้ง เราเองก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอะไรมาเพิ่มเติมเป็นพิเศษ แต่เราอาจต้องการแค่ Logic ว่าจะต้องการให้ระบบทำงานอย่างไรเท่านั้น

และต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างง่าย ๆ ของการนำระบบ Automation มาใช้ใน Marketing Campaign

สมมติว่า เรามีแคมเปญที่ต้องกำหนดเป้าหมายซึ่งเป็น User ที่สัญญาหมดอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งงานนี้ต้องมีการทำแคมเปญซ้ำทุกวัน เนื่องจากจำนวนผู้ใช้อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน แต่ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • สร้างแคมเปญขึ้นมา โดยกำหนดเป้าหมายเป็นผู้ใช้ที่หมดสัญญาเท่ากับวันที่ปัจจุบัน + 3เดือน
  • การ Optimization เพื่อแยกสิ่งที่ไม่จำเป็น รวมถึงกลุ่มคนที่ไม่ใช่เป้าหมายการสื่อสารออกทั้งหมด
  • เมื่อสร้างแคมเปญเสร็จแล้ว ให้ทำการทดสอบแคมเปญก่อน
  • หากเห็นผลลัพธ์ตามความต้องการ ให้สังเกตการทดสอบในวันถัดไปว่าได้ผลลัพธ์เหมือนกันหรือไม่  ซึ่งหากได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการเหมือนกัน ก็ถึงเวลาที่จะทำให้แคมเปญของเราเป็นแบบอัตโนมัติ
  • นี่เป็นกรณีตัวอย่างง่าย ๆ ของการทำ Marketing Automation  ซึ่งสิ่งที่เราต้องเพิ่ม คือ เครื่องมือกำหนดเวลาที่หน้าแคมเปญที่ต้องทำงานทุกวันตามช่วงเวลาที่กำหนดเอาไว้
  • ลองสังเกตการทำงานของระบบอัตโนมัติที่เราตั้งเอาไว้ 2-3 วัน และหากทุกอย่างถูกต้อง ก็หมายถึงว่า เราพร้อมแล้วที่จะขับเคลื่อนมัน

กรณีข้างต้น เป็นตัวอย่างขั้นพื้นฐานของระบบอัตโนมัติ ที่เราเพียงแค่ต้องคิดถึงตรรกะพื้นฐานการทำงานของแคมเปญโดยใช้ตัวจัดตารางเวลา ซึ่งซอฟต์แวร์การจัดทำแคมเปญส่วนใหญ่ จะมีเครื่องมือนี้มาให้อยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงสามารถทำงานได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องเขียน JavaScript หรือโค้ดอื่นใดเพิ่มเติม

ย้ำอีกครั้งว่า เราต้องพยายามคิดเกี่ยวกับตรรกะและสิ่งที่ต้องการจากระบบอัตโนมัติก่อนเสมอ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากสำหรับทุกคนแต่อย่างใดเลย

แล้วพบกันอีกครั้ง กับวิธีการทำแคมเปญที่ซับซ้อนและต้องใช้เทคนิคเพิ่มมากขึ้น เร็ว ๆ นี้

——————-

**** หมายเหตุ ****

บทความฉบับนี้แปลและเรียบเรียงใหม่จากต้นฉบับภาษาอังกฤษของ Jitendra Khatwani, Head of Technical Consultant ของMontivory ซึ่งท่านที่ต้องการอ่านบความจากต้นฉบับโดยตรงสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ “What is Automation and how it helps your Marketing Campaigns?”